1 เมษายน ของทุกปี ถูกยกให้เป็น “April Fool’s Day” หรือ “วันแห่งการโกหก” เป็นการละเล่นที่ผู้คนจะเล่นมุกตลกและเรื่องหลอกลวงต่อกัน ตามสำนักพิมพ์หรือสื่อต่างๆ อาจรายงานเรื่องหลอกลวงในวันนี้ และออกมาเฉลยในวันต่อมา เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาก็กลายเป็นวันที่ผู้คนนิยมเล่นกันทั่วโลก
เปิดประวัติ “วันสงกรานต์” กำเนิดเทศกาลเฉลิมฉลองของคนไทย
“ราชพฤกษ์” ดอกไม้ประจำชาติ สัญลักษณ์เทศกาลสงกรานต์
April Fool’s Dayมีที่มานะ รู้ยัง?
เริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน จนกระทั่งมาถึง ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันในวันที่ 1 มกราคม แต่สมัยก่อนนั้น ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษายนตามเดิม ทำให้ชาวเมืองในฝรั่งเศสยุคนั้นเย้ยหยันทำเหมือนเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก และพยายามแกล้งโกหกคนกลุ่มนี้ตลอดเวลา เมื่อวันที่ 1 เมษายนเวียนมาถึงในทุกๆ ปี จึงกลายเป็นเหตุผลที่ว่า จะแกล้งโกหกหลอกลวงอะไรใครในวันนี้ก็ได้ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย และเป็นที่นิยมกันไปทั่วโลกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แต่ก็ยังมีอีกหลายทฤษฎีเช่นเดียวกัน บ้างก็ระบุว่าเริ่มจากพวกโรมันโบราณ มีเทศกาลที่เรียกว่า "Cerealia" จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Prosperpina ตะโกนมาว่าถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่าการตามเสียงสะท้อนเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอก
อีกทั้งยังมีอีกทฤษฎีที่เชื่อว่า April Fool’s Day เกิดจากช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่เล่าสืบต่อกันมาว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาวจะออกตามหาความรัก และเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโต ในขณะที่สัตว์ต่างๆ ก็หาคู่ด้วย กลุ่มนักบวชจึงพยายามหลอกล่อวิญญาณของความชั่วร้ายอย่างสุดความสามารถ เพื่อไม่ให้มาขัดขวางความรักของทั้งหนุ่มสาว พืช และสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นเดือนที่นักบวชจะต้องสวดเพื่อหลอกเหล่าวิญญาณร้าย
วันเมษาหน้าโง่April Fools' Dayในยุคปัจจุบัน
ในปัจจุบัน วันเมษาหน้าโง่ กลายมาเป็นวันที่ผู้คนจะล้อเล่นกันด้วยเรื่องโกหกต่างๆ ทั้งทางคำพูด การแสดงท่าทาง และในโซเซียลมีเดีย โดยจะเล่นโกหกอะไรในวันนี้ ควรจะคำนึงว่า
- ต้องไม่ทำอันตรายให้ผู้อื่น
- ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
- ต้องไม่เกี่ยวกับความเป็นความตาย
สำหรับในประเทศไทยนั้นการโพสต์ข้อมูลข่าวสารเท็จ หรือแชร์ข่าวปลอมนั้นถือเป็นการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 2560 มาตรา 14 มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเพราะฉะนั้นก็ควรเล่นกันแค่พอหอมปากหอมคอและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
“สัปดาห์หนังสือ 2566” เช็กโซนหนังสือ วิธีเดินทาง จุดจอดรถ ที่นี่!
ย้อนตำนาน “วันเช็งเม้ง” ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน อะไรที่ยังทำหรือยกเลิกแล้ว